ท้าวเวสสุวรรณ
คือ คุณค่า ทางวัฒนธรรมไทย
–
คือ ขวัญและกำลังใจ ของประชาชน
ในยามที่บ้านเมืองยังไม่เจริญ
โรคภัยไข้เจ็บไม่รู้ที่มาไม่มียารักษา
ท้าวเวสสุวรรณคือ หลักใจให้มั่นคง มาแต่โบราณ
***
“ถ้าปฏิบัติผิดต่อเทพ
คือไล่พระพุทธศาสนา จากแผ่นดินไทย”
ในขณะเดียวกัน ถัาปฏิบัติถูกต่อเทพ
พระพุทธศาสนา จะอยู่คู่ชาติไทย”
พระเทพเวที (ประยุทธ ปยตุโต)
***
บรรดาเทพเจ้าทั้งหลายในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและเทวดาในศาสนาพุทธ
เทพผู้ที่ใกล้ชิดมนุษย์มากที่สุด คือ ท้าวเวสสุวัณ เขียนตามภาษาลี
ภาษาสันกฤต คือ เวสสุวรรณ มีความหมายเดียวกัน แล้วแต่ความนิยม

ศาสนาพราหมณ์เกิดก่อนศาสนาพุทธไม่น้อยกว่า ๕ พันปี ขึ้นไปก่อนหน้าที่
ชาวอารยันจะบุกเข้ามาในอินเดีย ชุมชนพื้นถิ่นมีความเชื่อในเทพเจ้าเดิมไม่กี่องคฺ์
–
ล้วนแล้วเป็นเทพเจ้า ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ เช่น นับถือพระอาทิตย์
ผู้ให้แสงสว่างในตอนกลางวัน พระจันทร์ผู้ให้แสงสว่างในตอนกลางคืน
แม่ธรณี แม่คงคา พระวายุ(ลม) ว่าเป็นผู้บันดาลความสำเร็จและล้มเหลวให้
จึงได้มีการทำพิธีให้ถูกใจ จึงจะได้ผลสมประสงค์ก่อเกิดพิธีกรรมขึ้นมา
–
เมื่อศาสนาพราหมณ์เกิดจึงได้เพิ่มมหาเทพขึ้นอีก เช่นพระพรหม พระศิวะ พระนารายณ์
และเทพต่างๆที่จะสนองตอบความต้องการของมนุษย์อย่างตรงประเด็นที่ร้องขอ
โดยมีพราหมณ์เป็นผู้รู้ติดต่อสื่อสารกับเทพต่างๆโดยตรง ควบคุมมวลชนไว้ดูความเชื่อทางศาสนา
ก่อนประยุกต์หลักธรรมสูงสุดคือละกิเลส จนพุทธศาสนาเป็นแค่ปางหนึ่งของพระนารายณ์สูญสิ้นจากอินเดีย
–
พุทธศักราช ๒๕๖๕
ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเทพที่ได้รับความนิยมสูงสุดทั่วประเทศมีการสร้างขึ้นมากมาย
ทั้งวัดวาอารามและเอกชนเป็นรูปหล่อ รูปปั้นขนาดใหญ่ วัตถุมงคลขนาดเล็กพกพา
–
จากเดิมที่ ท้าวเวสสุวรรณ จะเห็นกัน ตามข้างโบสถ์ ทางเข้าประตูวัด
ตามบ้านเรือนอาคารสถานที่ และเปลแม่ลูกอ่อน เมื่อคลอดลูกน้อยออกมา
ท้าวเวสสุวรรณ อยู่กับสังคมไทยมายาวนานตั้งแต่พระราชวังไปสู่ประชาชน

ท้าวเวสุวรรณ มีผิวกายสีอะไร
เพราะเห็นแต่ละวัด แต่ละที่สร้างขึ้นมาสารพัดสี จนไม่สามารถแยกได้ว่า
ยักษ์ที่เห็นนั้น เป็นจตุโลกบาลพระองค์ใด ใน ๔ จตุโลกบาล ประจำทิศ
*
ผิวกายของท้าวเวสสุวรรณ มีสีและที่มาดังนี้
๑. ผิวกาย สีเขียว
ซึ่งถือว่าแพร่หลายที่สุด ทั้งศาสนาพุทธมหายาน และ พุทธหินยาน
ที่มาเกิดมาจาก รามเกียรติ ประวัติของท่านที่เป็นโอรสของท้าวลัสเตียน
เป็นลูกคนโต คนละแม่กับทศกัณฑ์ จึงใช้ประวัติกำเนิดของท่านเป็นผิวกายสีเขียว
๒. ผิวกาย สีแดง
ตามรามยณะว่า ครั้งเป็นมนุษย์ท้าวกุเวรองค์นี้คือเวศรวัณบำเพ็ญตบะ
ณ กลางป่าแห่งหนึ่ง นั่งอยู่เช่นนั้นเนิ่นนานราวหนึ่งพันปี จนร่างกายคล้าย
กลายเป็นเปลวเพลิงศักดิ์สิทธิ์ ได้รับพรจากพระพรหม ให้เป็นท้าวจตุโลกบาล
-จึงมีการตีความว่าท่านร่างกายสีแดง รวมทั้งการถวายของสีแดง บูชาพระองค์
(บ้างก็ว่า ตีความของ สีแดง มาจากท่านเป็นยักษ์ กินเลือด จึงใช้สีแดง)
๓. ผิวกาย สีขาว
เป็นการตีความจากบทบาทหน้าที่ของท่าน ในการคุ้มครองพระศาสนาพุทธ
ในไตรภูมิคาถา ว่า ทุกวันพระ พระองค์จะสำรวจรายชื่อผู้ใจบุญสุนทาน
และถือสีขาวคือศาสนาความบริสุทธิ์ยุติธรรม จึงวาดและสร้างรูปท่านเป็นผิวกายสีขาว
๔.ผิวกาย สีทอง
ด้วยประวัติของท่านที่มีความมั่งมีและสละทรัพย์นั้นให้ทานคนยากจน
ทำให้ผู้คนสร้างท้าวเวสสุวรรณเป็นสีทอง รวมทั้งชื่อ คำว่า สุวรรณ*
ด้วยถือเป็นความนิยมสูงสุด ในการสร้างรูปเคารพบูชาท่านในขณะนี้
๕. ผิวกาย สีน้ำตาล ดั่งมนุษย์
ภาพวาดในไตรภูมิคาถา ฉบับ รัชกาลที่ ๙ ท้าวเวสสุวรรณเป็นผิวสีน้ำตาลอ่อน
เหตุเพราะประวัติส่วนหนึ่งของท่านมีว่า”พาหนะของท่านเป็นมนุษย์”
และท่านเป็นเทพที่กี่ยวข้องกับมนุษย์มากที่สุด ตั้งแต่เกิดจนตาย

สรุปได้ว่า ผิวกายของท่านท้าวเวสสุวรรณ มี ๕ สี เรียงตามลำดับดังนี้
๑. สีเขียว ๒. สีแดง ๓.สีขาว ๔. สีทอง และ ๕. สีน้ำตาล
ส่วนวัดไหนท่านใด จะตีความผิวกายของท่านอย่างไรก็แล้วแต่ที่มา
*
ตามประวัติของท่าน ท้าวเวสสุวรรณ ที่มาถูกต้องตรงกันทุกฉบับ คือ
คือเป็นผู้กระทำคุณความดี เมื่อมีฐานะร่ำรวยแล้วก็สละช่วยเหลือผู้อื่น
บำเพ็ญตนประโยชน์ต่อศาสนา จนได้เป็นคำแหน่ง ผู้รักษาศาสนาพุทธ
–
*เป็นข้อคิดให้ผู้ประสบความสำเร็จแล้ว จงอุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม
หาได้ไปเคารพกราบไหว้ท่านเพื่อขอโชคลาภแต่อย่างเดียวให้คิดถึงจริยธรรมของท่านด้วย
–
ภาพ…ท้าวเวสสุวรรณ จาก”ไตรภูมิคาถา”ติดตามตอนที่ ๒ ฤกษ์ปลุกเสก
“ท้าวเวสสุวรรณ”สมัยสมเด็จพระเลิศหล้านภาลัย”รัชกาลที่ ๒”เมื่อห่ากินเมือง”

ท้าวเวสวัณ ไม่ใช่ท้าวเวสสุวรรณ
อ่านว่า ท้าว-เวด-สะ-วัน
ประกอบด้วยคำว่า ท้าว + เวสวัณ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –
“เวสสุวัณ : (คำนาม) ท้าวเวสวัณ, ท้าวกุเวร ก็เรียก.”
โปรดสังเกตว่า ที่คำว่า “เวสสุวัณ” พจนานุกรมฯ บอกในคำนิยามว่า “ท้าวเวสวัณ” แต่ที่คำว่า “เวสวัณ” ไม่ได้บอกว่า “ท้าวเวสสุวัณ” นั่นหมายความว่า ชื่อจริงๆ ของเทพองค์นี้คือ “เวสวัณ” (บาลี “เวสฺสวณ”) ไม่ใช่ “เวสสุวัณ” แต่มีผู้เรียกเพี้ยนเขียนพลาดเป็น “เวสสุวัณ” และพจนานุกรมฯ ก็เก็บคำที่เรียกเพี้ยนเขียนพลาดนี้ไว้ด้วย
เวลานี้ตามสื่อต่างๆ สะกดชื่อนี้เป็น “ท้าวเวสสุวรรณ” กันหมดสิ้น แทบไม่เห็น (ความจริงก็คือไม่เห็นเลย) ที่สะกดเป็น “เวสวัณ” ตามชื่อเดิม หรือแม้แต่ที่เพี้ยนไปเป็น “เวสสุวัณ” ก็ไม่เห็น
เมื่อเขียนเป็น “ท้าวเวสสุวรรณ” ใครเห็นคำว่า “สุวรรณ” เป็นต้องเข้าใจไปว่าเป็น “สุวรรณ” ที่แปลว่า ทอง เพราะฉะนั้น เชื่อว่าอีกไม่นานคงมีใครอธิบายความหมายของชื่อนี้ให้กลายเป็นเทพองค์หนึ่งที่มีอะไรเกี่ยวกับ “ทอง” อย่างแน่นอน
และถ้าพจนานุกรมฯ ของเราไม่สามารถวิ่งนำหน้าทางสติปัญญาของประชาชนได้ หากแต่ใช้วิธีเดินตามหลัง ในอนาคต คำว่า “ท้าวเวสสุวรรณ” ก็คงถูกเก็บไว้ในพจนานุกรมฯ อีกคำหนึ่ง
ในคำอธิบายสถานภาพของ “ท้าวเวสวัณ” บอกไว้ชัดว่าคือเทพที่อยู่ในปกครองของพระอินทร์ และคติทางพระพุทธศาสนาเรา พระอินทร์ก็เคารพเทิดทูนพระพุทธองค์อย่างสูงยิ่ง
ในขณะที่เราพากันนับถือ “ท้าวเวสวัณ” ที่เรียกเพี้ยนเขียนผิดเป็น “ท้าวเวสสุวรรณ” กันอย่างมืดฟ้ามัวดิน-แม้แต่ในวัดของพระพุทธศาสนาแท้ๆ อยู่ในเวลานี้นั้น หวังว่า ชาวพุทธคงจะยังคงเคารพนับถือพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง อย่างน้อยที่สุดก็อย่าให้น้อยไปกว่าที่นับถือ “ท้าวเวสสุวรรณ”